จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ค้างคาว แม่ไก่ Lyle's flying fox

ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง  Lyle's flying fox
 ชื่อวิทยาศาสตร์: Pteropus lylei เป็นค้างคาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ค้างคาวผลไม้ (Pteropodidae)


มีลักษณะเหมือนค้างคาวแม่ไก่ชนิดอื่น ๆ มีขนาดใหญ่กว่าค้างคาวแม่ไก่เกาะแต่เล็กกว­่าค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน ขนส่วนท้องและหลังสีน้ำตาลทอง ปลายหูแหลมมี ความยาวแขนถึงศอกประมาณ 14.5-16 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัว 390-480 กรัม พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง, ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย โดยพบตั้งแต่พื้นที่อ่าวไทยตอนในจรดจังหวั­ดพระนครศรี อยุธยา และพบได้ที่กัมพูชาและเวียดนาม โดยอาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ เกาะบนต้นไม้ จากการศึกษาพบว่า ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลางในประเทศไทย มีพื้นที่อาศัยเกาะนอน 16 แห่ง โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นหรือพื้นที่ใก­ล้สวนผลไม้ ในแต่ละคืน กินพืชเป็นอาหารประมาณ 3.38-8.45 ตัน ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่ค่อนข้างมากและยากที­่เกษตรกรจะยอมรับได้ โดยเป็นพืชเศรษฐกิจเสียส่วนใหญ่ ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวน­และคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


สำหรับผู้ที่คลุกคลีอยู่กับค้างคาวมาพอสมควร หรือแม้แต่ผู้ที่แค่เคยได้ยินเรื่องราวของค้างคาวมาบ้าง คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ค้างคาวนั้นแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อระบบนิเวศในธรรมชาติ แต่ตัวมันเองก็มีโทษและสร้างความเสียหายไม่น้อยเช่นกัน (โดยเฉพาะเมื่อคนเรานึกถึงตัวเองเป็นใหญ่) การที่คนเราจะอยู่ร่วมกับค้างคาวได้โดยรบกวนอีกฝ่ายน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงบทบาทของสัตว์เพื่อนร่วมโลกเหล่านี้ด้วย

Cynopterus horsfieldi_photo by Kwan Nualcharoenในส่วนของประโยชน์นั้น ค้างคาวกินผลไม้ (Megachiroptera: Fruit/nectar-eating bats) มีบทบาทในการช่วยรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างความหลากหลายของระบบนิเวศป่าไม้ โดยการช่วยผสมเกสรดอกไม้ป่า รวมทั้งการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ เช่น ไทร หว้า งิ้ว ทุเรียน เงาะ ฝรั่ง มะม่วง เป็นต้น การที่ค้างคาวคาบลูกไม้ไปกินที่อื่นไกลจากต้นแม่ หรือการที่มันถ่ายมูลขณะบินหากินก็อาจกล่าวได้อีกว่าค้างคาวเป็นผู้คืนชีวิตให้ป่า เนื่องจากในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายกลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่านั้น จะต้องมีต้นไม้กลุ่มแรก ที่บุกเบิกกำเนิดขึ้นมาก่อนที่จะมีกระบวนการทดแทนกลับไปเป็นป่า ซึ่งค้างคาวมีส่วนในการเป็นผู้นำพาเมล็ดไม้ของต้นไม้กลุ่มแรกนี้เข้ามา

นอกจากเรื่องการผสมเกสรและการกระจายเมล็ดไม้แล้ว ค้างคาวในกลุ่มค้างคาวกินแมลง (Microchiroptera: insect-eating bats) ยังมีส่วนอย่างมากต่อการควบคุมประชากรแมลงในธรรมชาติ รวมไปถึงในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว ไม่ให้มีมากจนเกินไปจนทำลายผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งหากไม่มีค้างคาวช่วยในส่วนนี้แล้ว เกษตรกรอาจต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากขึ้น ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช    จนส่งผลให้มีสารพิษตกค้างถึงคนเราผู้เป็นผู้บริโภค




Hipposideros diadema_photo by Ariya Dejtaradolในส่วนของโทษนั้น ค้างคาวกินผลไม้มักจะถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ทำความเสียหายแก่สวนผลไม้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ชาวสวนมักจะเก็บผลไม้ในช่วงก่อนหรือเริ่มจะสุก ส่วนค้างคาวชอบกินผลไม้ที่สุกงอมมากกว่า ดังนั้นหากชาวสวนทำการเก็บผลไม้ขณะเริ่มสุขนั้น ก็จะลดความเสียหายของผลไม้ที่เกิดจากค้างคาว 

ส่วนโทษของค้างคาวที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ การที่ค้างคาวเป็นพาหะนำเชื้อโรค มีรายงานการวิจัยที่เป็นหลักฐานชี้ชัดว่า ค้างคาวกินผลไม้หลายชนิด เช่น ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง ค้างคาวเล็บกุด เป็นพาหะของเชื้อพิษสุนัขบ้า และยังพบเชื้อไวรัสนิปาห์ ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบในค้างคาวแม่ไก่ทั้ง 3 ชนิดที่พบในประเทศไทยอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การที่คนจะติดเชื้อโรคจากค้างคาวได้นั้น จะต้องมีการสัมผัสกับมันอย่างใกล้ชิดและบ่อย โดยไม่ได้มีการป้องกันที่ดีพอ และปัจจุบันยังไม่เคยมีรายงานว่ามีการติดต่อของเชื้อไวรัสนิปาห์สู่คนในประเทศไทย

การปฏิบัติตัวเพื่อให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคจากค้างคาว สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับค้างคาวโดยตรง รวมไปถึงฉี่ น้ำลาย และมูลของค้างคาวด้วย หากจำเป็นต้องสัมผัสควรสวมถุงมือให้เรียบร้อย นอกจากนั้นก่อนรับประทานผลไม้ควรล้างให้สะอาดก่อนทุกครั้ง เพียงเท่านี้เราก็สามารถลดความเสี่ยงจาการได้รับเชื้อโรคจากค้างคาวได้แล้ว